พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น การหาข้อมูลร้านอาหารในโลกออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อหรือไปรับประทาน, การแสดงความคิดเห็นต่อร้านหรืออาหารที่ไปรับประทานมาลงบนโลกโซเชียล ที่สำคัญชอบความรวดเร็วและสะดวกสบาย การสั่งอาหารแบบ Food Delivery จึงกลายเป็นที่นิยมสูงและเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปถึงที่ร้าน ไม่ต้องต่อคิวก็ได้อาหารมารับประทานถึงที่ ไม่เพียงเท่านั้นยังตอบโจทย์ความเบื่อง่ายของคนเมืองยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี เพราะพวกเขาสามารถสั่งอาหารหรือร้านแปลกใหม่ มาลองลิ้มชิมรสให้ชีวิตไม่จำเจ อีกทั้งยังเพิ่มความ Personalization ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ธุรกิจ Food Delivery จึงเติบโตอย่างเฟื่องฟูมาก
พฤติกรรมคนรุ่นใหม่กับการใช้บริการ Food Delivery
ข้อมูลจาก Statista พบว่า Food Delivery ที่เป็นตลาดที่มีมูลค่า 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มว่าจะโตอีกปีละ 11% ไปจนถึง ค.ศ. 2023 โดยเอเชียจะเติบโตสูงที่สุด คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ของมูลค่ารวม
สำหรับในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจการแข่งขันของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร โดยคาดว่าในปี 2562 จะมีมูลค่าสูงถึง 33,000 – 35,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปีก่อนถึง 14%
สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตในประเทศไทยก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น เทคโนโลยีที่ดีขึ้น, ไม่ชอบทำอาหารด้วยตัวเอง, ไม่ชอบเดินทางที่รถติดและเสียเวลา , ชอบความสะดวกสบาย เป็นต้น ซึ่งพบว่าผู้ใช้บริการ Food Delivery มีตั้งแต่ Gen x ไปจนถึงกลุ่ม Millennials โดยส่วนมากเป็นผู้หญิง และนิยมสั่งไปส่งที่พักอาศัยเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือที่ทำงาน ด้วยเหตุที่ Online Food Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่องจึงมีธุรกิจสร้างรายได้ใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า “Ghost Kitchen”, “Shared Kitchen” หรือ Co-Kitchen
Co Kitchen อนาคตธุรกิจใหม่ของคนรักทำอาหารแต่ไม่มีเวลาและเงินทุนไม่พอ
“Ghost Kitchen”, “Shared Kitchen” หรือ Co-Kitchen กำลังเป็นธุรกิจมาแรงในยุคนี้ โดยเป็นห้องครัวแบ่งเช่าทำอาหารสำหรับผู้ที่ไม่่มีห้องครัวของตนเอง
ปัจจุบันพบว่ามีคนที่ใจรักการทำอาหาร อยากเป็นนายตนเอง แต่ไม่มีพื้นที่ทำ หรือไม่มีทุนมากพอทำหน้าร้าน ซึ่งธุรกิจบริหารครัวให้เช่านี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะใช้ต้นทุนต่ำ สามารถทำอาหารได้ในครัวที่แบ่งกันใช้ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ที่ทำร่วมกันได้ด้วย ที่สำคัญเมื่อทำเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งไปถือมือผู้บริโภคด้วยบริการ Food Delivery ได้ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเริ่มธุรกิจได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญยังมีความเสี่ยงต่ำในการเริ่มธุรกิจของตนเองด้วย และในปัจจุบันนี้เริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้กันบ้างแล้ว เช่น Panda Selected พื้นที่ให้เช่าครัวในปักกิ่ง ประเทศจีน หรือ Sentoen พื้นที่ Co-Cooking Space ขึ้นในย่านเมกุโระ ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ Co-Kitchen นี้เป็นโอกาสรวยของคนรุ่นใหม่ที่ใจรักการทำอาหาร และอยากจะเปิดร้านอาหารขายที่ไม่ได้มีทุนมากพอจะมีหน้าร้าน เพราะคุณสามารถทำอาหารขายได้ในพื้นที่ Co-Kitchen และส่งอาหารขายผ่านทาง Food Delivery ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนี้ แต่หากใครมองหา Co-Kitchen ในไทยดีๆ สักที่ ต้องบอกว่าในวันนี้ยังไม่มีการเปิดบริการธุรกิจนี้โดยเฉพาะ
แต่มีสิทธิพิเศษสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ อัลติจูด ยูนิคอร์น สาทร-ท่าพระ (Altitude Unicorn Sathorn – Thapra) เพราะที่นี่มีบริการ Co-Creation Kitchen สำหรับผู้อยู่อาศัย เป็นบริการครัวส่วนกลางที่มีทั้งอุปกรณ์และพื้นที่ให้คุณได้ฝึกทำอาหาร หรือประกอบอาหารสร้างรายได้ ทั้งทำแล้วขายทาง Food Delivery หรือสร้างช่อง Youtube สอนทำอาหาร รวมถึงยังทำคอร์สเวิร์กช็อปได้อีกด้วย